(อ่านแล้ว 5209 ครั้ง)
วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลหนองเสือ ตำบลบึงบา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี , นางสาวพัชร์ชิสา พชิระธารีรัตน์ รองนายก อบจ.ปทุมธานี , นายแพทย์วิโรจน์ ตั้งเจริญดี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองเสือ และผู้บริหารร่วมประชุมหารือแนวทางการปรับปรุงอาคารต่างๆของโรงพยาบาลหนองเสือ เพื่อรองรับจำนวนคนไข้ที่มาใช้บริการอย่างแออัดในปัจจุบัน
ด้าน พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี ผมมีความคิดอยู่แล้วเกี่ยวกับสถานที่ โรงพยาบาล รพ.สต. เพราะผมเป็นกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นตัวแทนของนายก อบจ.ทั้ง 76 จังหวัดให้เป็นกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้ประชุมร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 4 สระบุรี ได้ประชุมและให้ผมเป็นคณะกรรมการฯที่เตรียมพัฒนาแพทย์ฉุกเฉิน ในส่วนของจังหวัดปทุมธานี ไม่ใช่แค่โรงพยาลหนองเสือที่มีประชาชนมาใช่บริการอย่างแออัด ส่วนโรงพยาบาลลาดหลุมแก้วก็มีประชาชนมาใช้บริการเยอะ ผมจึงรับ รพ.สต.มาเพื่อแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่รับมาแล้ว 13 แห่ง และกำลังจะสร้าง รพ.สต.ใหม่ขึ้นมาอีก 2 แห่ง ที่บางแขยงและคลองหลวง เมื่อ รพ.สต.เราพัฒนาไปจะให้เทียบเท่ากับรพ.สต.เทศบาลเมืองบึงยี่โถ จากที่จะเชิญผมมาเป็นประธานจัดหารายได้แต่ยอดเงินที่จะได้เพื่อมาพัฒนาโรงพยาบาลแห่งนี้จะนานและช้า จัดทอดผ้าป่ามาหนึ่งครั้งจะได้กี่แสนกี่ล้านบาท ซึ่งเงินล้านบาทจะพัฒนาอะไรได้เท่าไร ผมจึงหารือกับท่าน ผอ.และรอง ผอ.โรงบาลพยาบาล หากเราสามารถเอาเข้าแผนให้ทัน โดยเราใช้เงินสะสมของอบจ.ได้ ผมพร้อมนะที่จะดันเงินสะสมลงมา 50 ล้านผมก็ยอม สำหรับงบส่วนกลางที่มาเรานำไปสร้างอาคารโดมให้วัด พัฒนามัสยิด และโรงเรียน มีความตั้งใจจะใช้งบสะสมที่ อบจ.มีมาสร้าง รพ.สต.แห่งใหม่ เพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งโรงพยาบาลลาดหลุมแก้วได้ซื้อที่ดินเพิ่มและอาคารโรงพยาบาลงบ 80 ล้านบาท โดยใช้เงินสะสมของ อบจ. เพื่อจะพัฒนาในจุดนี้ให้ประชาชนเขาสะดวก ไม่ต้องมาแออัดกันแบบนี้ ทุกวันนี้คนไข้เยอะ วันละ 150-200 คนที่มาใช้บริการก็เยอะแล้ว ส่วนสถานที่รองรับห้องฉุกเฉินมีแค่กี่เตียงเท่านั้นเอง แบบนี้ไม่ทันกับเจริญและจำนวนประชากรของชาวหนองเสือ ซึ่งผมจะพัฒนาอำเภอหนองเสือเชิงท่องเที่ยวเกษตรกร ดังนั้นเรื่องโรงพยาบาลต้องทันสมัยต้องรองรับให้ทันกับความเจริญที่เข้ามา