(อ่านแล้ว 5497 ครั้ง)
ชาวสกลนครและประชาชนทั่วประเทศ ร่วมกันช่วยเชียร์ เบอร์ 2 พรีม นัทรินทร์ ทองตุ๋ย ผู้ลงสมัคร 1 ใน 27 ท่าน ธิดาปราสาทผึ้ง& นางงามสกล ประจำปี 2567 ในวันที่ 15 ต.ค.ตั้งแต่เวลา 18.00 น.เป็นต้นไป ซึ่งงานดังกล่าวเป็นงานประเพณีประจำ จว.สกนคร เนื่องในวันออกพรรษา นับเป็นเวทีแห่งความภาคภูมิใจในวัฒนธรรม ประเพณีของชาวสกลนคร" ซึ่งจะมีทั้งพิธีแห่ปราสาทผึ้ง และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย ณ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัด.สกลนคร
เปิดเผย ดีกรีน้องพรีม นัทรินทร์ ทองตุ๋ย ไม่ธรรมดา เป็นลูกสาวสุดหวงของ อาจารย์ธนานันท์(ทนง)เทพศรียันตรา ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ THAI.NEWS RECORD./นสพ.เจาะเกราะนิวส์ หรือ จ่าหมง คนข่าว น.หัวหน้ากอง/บก.ข่าว นครบาล นสพ.เรื่องจริงผ่านเลนส์ ทีเดียว
ประเพณีการแห่ปราสาทผึ้ง ประเพณีของชาวอีสาน ถือว่าการทำบุญด้วยการถวายต้นผึ้ง เป็นบุญกุศลสูงส่ง ดังนั้นในการถวายทานให้แก่ผู้ตายในงานแจกข้าว (งานทำบุญให้ผู้ตาย) เมื่อถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์แล้ว ก็ถวายหอผึ้งเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้วายชนม์ ต่อมา ประเพณีดังกล่าวได้มีกลุ่มคนจัดขึ้นมาอย่างใหญ่โตด้วยความศรัทธาในเทศกาลออกพรรษา พระพุทธเจ้าจะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อมาโปรดเวนัยสัตว์ในโลกมนุษย์ให้พ้นทุกข์ด้วยประเพณีดังกล่าว กลุ่มชาวเมืองสกลนครที่มีคุ้มวัดต่าง ๆ จึงได้จัดทำหอผึ้ง หรือปราสาทผึ้ง ถวายที่วัดพระธาตุเชิงชุมเป็นประจำทุกปี ด้วยมีความเชื่อหลายประการ คือ
1) พุทธศาสนิกชนเชื่อกันว่า การทำบุญในวันออกพรรษา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเปิดโลกทั้งสามให้มองเห็นความเป็นอยู่ซึ่งกันและกัน และโดยพุทธานุภาพแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวบ้านได้มองเห็นหอผึ้งที่ตนทำถวาย
2) วัดพระธาตุเชิงชุมเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่พระพุทธเจ้ามาประชุมรอยพระพุทธบาทถึง 4 พระองค์ และได้มีการสร้างพระธาตุเชิงชุมครอบรอบพระพุทธบาทนั้นไว้ การนำหอผึ้งมาถวายเป็นพุทธบูชารอยพระพุทธบาทย่อมเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง
3) เป็นการทำบุญที่ญาติพี่น้องที่อยู่ห่างไกลได้มาพบกัน ได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และร่วมประเพณีแข่งเรืออย่างสนุกสนาน
ปราสาทผึ้งของจังหวัดสกลนคร ได้พัฒนารูปแบบของการทำปราสาทผึ้ง ออกเป็น 3 ระยะดังนี้
1) ระยะแรกยุคต้นผึ้งหรือหอผึ้ง เป็นต้นกำเนิดของปราสาทผึ้งในปัจจุบัน ทำจากต้นกล้วย ตัดให้ยาวพอสมควรทำขาหยั่งสามขายึดต้นกล้วยเข้าไว้ จากนั้นจะนำขี้ผึ้งมาเคี่ยวให้หลอมเหลวใส่ลงในแม่พิมพ์ เรียกว่าดอกผึ้ง แล้วนำมาติดที่ก้านกล้วยหรือกาบกล้วย ซึ่งต่อมาได้ทำเป็นหอผึ้ง มีลักษณะเป็นทรงตะลุ่ม ทำโครงด้วยไม้ไผ่ผูกเสริมด้วยกาบกล้วย ก้านกล้วย จะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมสองชั้น ต่อกันคล้ายเอวขันธ์หรือเอวพาน การตกแต่ง ยังนิยมประดับด้วยดอกผึ้ง ตามโครงกาบกล้วย
2.) ระยะที่สองยุคปราสาทผึ้งทรงหอ-ทรงสิมหรือศาลพระภูมิ ได้มีพัฒนาการทำโครงเป็นโครงด้วยไม้ โดยใช้ไม้เนื้ออ่อนทำเป็นเสาสี่ต้น พันด้วยกระดาษสี เครื่องบนทำเป็นหลักคล้ายหมาก แต่งหน้าจั่วด้วยหยวกกล้วยประดับดอกผึ้ง ในส่วนปราสาทผึ้งทรงสิมจะลดความสูงลง ทำหน้าจั่วทรงจตุรมุขตามแบบสิมพื้นบ้านของภาคอีสานโดยทั่วไป การประดับตกแต่งใช้วิธีการแทงหยวกประดับป้านลม ช่อฟ้า ใบระกา ด้วยดอกผึ้งตามส่วนต่าง ๆ
3) ยุคปราสาทผึ้งเรือนยอด เป็นการทำปราสาทผึ้ง โดยการพัฒนารูปแบบลวดลายองค์ประกอบให้วิจิตรพิศดารยิ่งขึ้น ด้วยโครงไม้ ให้เป็นทรงปราสาทจตุรมุขมีเรือนยอดเรียวหรือที่เรียกว่า “กฎาคาร” ตัวอาคารทั้งสี่ด้านต่อเป็นมุขยื่นออกไปมีขนาดเท่ากับบางแห่งสร้างปราสาทสามหลังติดกัน นอกจากนี้ยังเน้นความประณีตในการตกแต่งผึ้งให้งดงาม เช่นกำแพงแก้ว หน้าบัน ช่อฟ้าใบระกา นาคสะดุ้ง โดยใช้ศิลปกรรมไทยหรือผสมผสานระหว่างศิลปะอีสานกับไทยภาคกลาง เป็นการสร้างปราสาทที่เลียนแบบที่ประทับพระมหากษัตริย์ เพื่อถวายแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดับตกแต่งมีทั้งแบบหล่อแกะลาย และแบบติดพิมพ์สมัยใหม่
การแห่ปราสาทผึ้งจะมีอยู่ 2 ส่วน คือในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 11 จะเป็นการนำปราสาทผึ้งไปชุมนุมกันเพื่อฉลองคบงัน 1 วัน 1 คืน ในวันรุ่งขึ้น เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11จะเป็นวันแห่ปราสาทผึ้งไปทอดถวาย ณ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ซึ่งจะมีขบวนแห่อย่างสวยงาม ประกอบด้วยการแสดงพื้นบ้านต่าง ๆ ของสภาวัฒนธรรมอำเภอทุกอำเภอ เช่น การแต่งกาย 6 เผ่า การรำมวยโบราณการฟ้อนถูไท(ผู้ไทย) การแสดงดนตรีพื้นเมืองการแสดงถึงวิถีชีวิตของคนสกลนครซึ่งเป็นประเพณีที่มีความสนุกสนานแต่ในขณะเดียวกันได้แสดงออกถึงความเชื่อในพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญและถือเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัด สกลนคร